King Mongkut's University of Technology Thonburi (KMUTT)

1 | 2

หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาจุลชีววิทยา, วท.บ.(จุลชีววิทยา)


เกี่ยวกับหลักสูตร

จุลชีววิทยาเป็นสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาจุลินทรีย์ การควบคุมจุลินทรีย์และการนำจุลินทรย์มาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหาร(เช่น การควบคุมคุณภาพด้านจุลชีววิทยาของอาหารเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค ยีสต์ทำไวน์และยีสต์ทำขนมปัง) การผลิตพลังงาน (การนำจุลินทรีย์มาผลิดพลังงานทดแทน ยีสต์/แบคทีเรียผลิตเอทานอล) เกษตรกรรม (การผลิตปุ่ยอินทรีย์และปุ๋ยชีวภาพ) สิ่งแวดล้อม (การใช้จุลินทรีย์ในการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม เช่น จุลินทรีย์ย่อยนำมั้น หรือย่อยพลาสติก) การแพทย์และเภสัชกรรม(การศึกษาสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากจุลินทรีย์และทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆ เพื่อพัฒนายาชนิดใหม่ที่มีประโยชน์ทางการแพทย์)
ภาควิชาจุลชีววิทยา จึงมีความมุ่งมั่นในการผลิตบัณฑิตทางด้านจุลชีววิทยาที่มีความรู้ความสามารถครบถ้วนเป็นนักจุลชีววิทยาได้ สามารถประยุกต์และบูรณาการความรู้ด้านจุลชีววิทยาและวิทยาศาสตร์การอาหาร เห็นภาพรวมและความเชื่อมโยงในอุตสาหกรรม สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องหลังจบการศึกษา และประยุกต์ใช้ความรู้ที่มีในการพัฒนาประเทศให้ทันสมัยทั้งทางด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และ สิ่งแวดล้อม

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1. สามารถบูรณาการความรู้ทางด้านจุลชีววิทยา วิทยาศาสตร์การอาหาร และ สาขาที่เกี่ยวข้อง เพื่อการวิจัย แก้ปัญหาโจทย์ และปฎิบัติงานอย่างถูกต้อง
2. สามารถวางแผนการทดลองและปฎิบัติงานทางจุลชีววิทยาและสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องได้อย่างถูกต้อง
3. สามารถสื่อสารตามหลักวิชาการและทำงานร่วมกับผู้อื่นได อาทิเช่น สามารถรายงานผลการทดลองได้ถูกต้องตามหลักวิชาการ และ สามารถนำเสนอผลงานหรือบทความทางจุลชีววิทยาหรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องได้
4. สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น และรับฟังความคิดเห็นของคนภายในทีมและนอกทีม
5. สามารถดำเนินงานให้เป็นไปตามแนวทางปฎิบัติความปลอดภัยทางชีวภาพ
 

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

  • นักวิจัยหรือนักวิชาการในองค์กรของรัฐหรือเอกชน
  • นักวิจัยประสานงานโครงการวิจัยของหน่วยงานให้ทุนวิจัย
  • นักวิทยาศาสตร์ห้องปฎิบัติการจุลชีววิทยา
  • พนักงานแผนกผลิต และ/หรือ ควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์
  • นักพัฒนาและวิจัยผลิตภัณฑ์ผลิตภัณฑ์
  • อาชีพอื่นๆ
 

โครงสร้างหลักสูตร

(ก) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 31 หน่วยกิต
(ข) หมวดวิชาเฉพาะ 101 หน่วยกิต
- กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐานและคณิตศาสตร์ 31 หน่วยกิต
- กลุ่มวิชาวิศวกรรมศาสตร์พื้นฐาน 6 หน่วยกิต
- กลุ่มวิชาเอกบังคับด้าน Microbiology 43 หน่วยกิต
- กลุ่มวิชาเอกเลือก* 6 หน่วยกิต
- กลุ่มวิชาโทบังคับด้าน Food Science 9 หน่วยกิต
- กลุ่มวิชาโทเลือกด้าน Food Science/Environmental Science 6 หน่วยกิต
(ค) หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต
หน่วยกิตรวม 38 หน่วยกิต

*หมายเหตุ วิชาเอกเลือกการเรียนรู้ร่วมอุตสาหกรรม (3 หน่วยกิต) เป็นการบูรณาการเรียนรู้ร่วมกับการท างาน ในภาคอุตสาหกรรม ช่วงภาคการศึกษาพิเศษของปีการศึกษาที 3 รวมกับ ภาคการศึกษาที 1 ปีการศึกษาที 4